วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ธรรมก้องโลก พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่งตรัสรู้ แจ้งรู้ แจ้งโลก เห็นจริง ทั้งหมดนี้มี ๓ โลก คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก หรือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ทั้งหมดนี้คือเขาวงกต กล่าวคือสัตว์ทั้งหลายออกไม่ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเห็นทางเดินของสัตว์ เห็นทางออกจากเขาวงกต นั่นก็คือให้เดินตามทางสายกลาง “มัชฌิมาปฏิปทา” ให้เดินตามมรรคมีองค์ ๘ เมื่อย่อยแล้วคือ ทาน ศีล ภาวนา สมาธิ พระธรรมนี้ เรียกว่า พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร หรือ ธรรมะก้องโลก
ศีล เป็นพื้นฐานจิตใจของคน ศีลแปลว่า ปกติ เป็นวินัยธรรมเบื้องต้นแยกคนออกจากสัตว์ ศีลเป็นแบบแผนของชีวิต ศีลสำหรับฆราวาสคือ ศีล ๕ ชีศีล ๘ สามเณรศีล ๑๐ พระภิกษุสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ ศีลเป็นบันได ศีลเป็นประตูสู่พระนิพพาน เดินทางตามมรรคต้องมีศีล ศีลเป็นบันไดขั้นที่ ๑ การละเมิดศีลจะเกิดการเผาใจ เดินทางตามมรรคบันไดขั้นที่ ๒ กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ
๑. เว้นจากการ ฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการ ลักทรัพย์
๓. เว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม
๔. เว้นจากการ พูดเท็จ พูดปด
๕. เว้นจากการ พูดส่อเสียด
๖. เว้นจากการ ไม่พูดคำหยาบ
๗. เว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ
๘. เว้นจากการ ไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. เว้นจากการ ไม่พยาบาทปองร้าย
๑๐. เว้นจากการ ไม่ผิดจากครองธรรม

 หิริ ละอายต่อบาป ไม่อยากทำบาป เห็นบาปเป็นของสกปรก ทำให้ใจเศร้าหมอง
 โอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาป รู้สึกกลัว กลัวว่าเมื่อทำไปแล้ว บาปจะส่งผลให้ทุกข์
เดินทางตามมรรคต้องทาน มหาทานใช้หลักพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักมหาทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้ใช้มุทิตา คือความปลาบปลื้มด้วยความจริงใจ มุทิตาจิต ต้องมีใจเป็นนาย – กายเป็นบ่าว เราจะต้องมีมุทิตาจิตต่อใครบ้าง ดังต่อไปนี้
๑. มุทิตาจิตต่อ บิดา-มารดา พระอรหันต์องค์ใหญ่ที่สุดในบ้าน
๒. มุทิตาจิตต่อ ครู-อาจารย์ ผู้ให้ความรู้ ประสิทธิ์ประสาทวิชา
๓. มุทิตาจิตต่อ ผู้มีอุปการคุณ
๔. มุทิตาจิตต่อ ญาติ-พี่น้อง
๕. มุทิตาจิตต่อ แผ่นดินที่เกิด
๖. มุทิตาจิตต่อ สังคม แผ่นดินที่เกิด
๗. มุทิตาจิตต่อ พระเจ้าแผ่นดิน ในแผ่นดินเกิด
๘. มุทิตาจิตต่อ พระบรมศาสดา ที่ให้แสงสว่างส่องใจ เป็นที่ยึดเหนียวทางใจของศาสนา
สำหรับชาวพุทธ พระสงฆ์ สาวกให้มุทิตาจิตต่อ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาเอกของโลก ด้วยการอามิสบูชา ระลึกถึงคุณ ปฏิบัติบูชา ปฏิบัติตามคำสอนมีอานิสงส์มาก ถ้าเราทำได้แบบนี้แล้ว ก้าวถึงการเป็นลูกเราตถาคต ไม่มีทางอื่น ในทางสายกลางเท่านั้น เหมือนกับเราได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ศีล ทาน ไปสู่ สุขติ ภาวนาเป็น สมาธิเป็น ไปนิพพาน เมื่อสมัยพุทธกาลไม่มีทีวี ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีโทรศัพท์ การฟังพระองค์แสดงธรรม ด้วยการฟังแล้วคิดตาม จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม
วิธีดับทุกข์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนให้เราพิจารณาตัวเอง สังขารตัวเอง ธาตุ ขันธ์ จิต พระองทรงตรัสรู้แล้ว ถ้าเราปฏิบัติตามท่านได้ ไม่มีภพชาติ เราจะเป็นคนวิเศษที่สุด เราจะหลุดพ้นจากกองทุกข์ แม่บทศสานาจะเริ่มต้นที่ทุกข์อันดับแรก สำหรับคนที่มีความทุกข์ ถ้ามีความรู้สึกว่าตัวเอง เบื่อทุกข์ เข็ดทุกข์ เบื่อเหลือเกิน เราจะทำอย่างไรจะไม่มีความทุกข์จะออกจากทุกข์ได้โดยวิธีใด เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ถึงมีทุกข์ก็ต้องทน ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป ทุกข์ที่พระองค์ทรงตรัสรู้มีมากกว่านี้มาก ที่คนเราเจอยังไม่มาก เพราะเราไม่เข้าใจในทุกข์ ไม่รู้ตัวทุกข์ เพราะยังขาดคนบอกคนสอน
การออกจากทุกข์ตามแนวคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องให้รู้ตัวทุกข์เสียก่อน ให้พิจารณาตัวเองเสียก่อน ให้ทำสมาธิ ภาวนา แล้วพิจารณาตามแนวคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่าผู้ฟัง ฟังแล้วคิดตาม ให้พิจารณาดู ในร่างกายของคนเรานั้น มีอวัยวะ ๓๒ อย่าง มีธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายล้วนเป็นสิ่งสมมุติบัญญัติ มีเกิด แก่ เจ็บ และตาย เมื่อเกิดมา มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยงล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอาการ ๓ ๑๒ ครบวงจร เปรียบเหมือนเชือก ๓ เกลียว คือ
๑. ภพ-ชาติ แดนเกิด
๒. รูป-ขันธ์
๓. จิต-เจตสิก หรือมโนวิญญาณ สภาวะธาตุ สภาวธรรม ธาตุ ๖ ธาตุ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ล้วนเป็นสิ่งสมมุติบัญญัติ
เรามาทำความเข้าใจ เชือกเกลียวที่ ๑ จิต-เจตสิก(หรือความคิด) คือความคิด เกิด-ดับ วัน ๆ คิดหลายเรื่อง คิดเรื่องทุกข์ คิดเรื่องสุข เกิด-ดับ บางครั้งคิดแล้วเปลี่ยนความคิด เกิด-ดับเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้คือจิต ความคิด
เชือกเกลียวที่ ๒ คือเขาวงกต ในโลกในนี้ มีกลางวัน มีกลางคืน เกิด-ดับ ประเทศไทยมี ๓ ฤดู ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน เกิด-ดับ สงครามโลกครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ เกิดขึ้น – ดับไป มีโรคระบาท เกิด-ดับ ความทุกข์ ความสุข เกิดขึ้น-ดับไป ไม่มีอะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง อนัตตา ก็ตามมา ดังมีคำพูดว่า อดีต ปัจจุบัน อนาคต เกิด-ดับ เช่นกัน ไม่มีอะไรจีรัง
เชือกเกลียวที่ ๓ คือขันธ์ ๕ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สังขารของเราคือตัวหลัก ที่เป็นความทุกข์ที่สุด รูป เกิด-ดับ คนเรานั้นมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่น เด็กอ่อน คนแก่ นักโทษ คนเจ็บ คนตาย ฯลฯ หรือเรียกอีกอย่างว่า เทวทูตทั้ง ๕
๑. มาพิจารณาดูเด็กอ่อน เกิดมาแล้วนำความทุกข์มาให้อย่างไร ช่วยเหลือตัวเองยังไม่ได้ พ่อ-แม่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ อาบน้ำ,เช็ดตัว,ป้อนน้ำ,ป้อนข้าว อุจจาระปัสสาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ร่างกายละเอียดอ่อน ย่อมได้รับทุกข์เวทนา เมื่อเจริญวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กอ่อน ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๒. มาพิจารณาคนแก่ ทุกข์ของความแก่ มีสภาพร่างกายของความชรา ความคร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ผมหงอก ผิวหนังเหี่ยวย่น ลุก เดิน นั่ง นอนลำบาก สายตาพร่ามัว เสี่ยงสั่น บ้างก็หลังค่อม จะเดินเหินต้องใช้ไม้เท้าค้ำยัน จากเด็กอ่อน สู่วัยหนุ่มสาว แล้วมาแก่เฒ่าชรา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิด-ดับ ห้ามไม่ให้แก่ก็ไม่ได้
๓. มาพิจารณาความเจ็บป่วย จะห้ามไม่ให้เจ็บ หรือป่วยไข้ย่อมไม่ได้ ความเจ็บปวดของสังขาร ย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ทรมาน เป็นทุกข์ เกิด-ดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๔. พิจารณานักโทษ นักโทษในที่นี้หมายถึงสังขาร คือเมื่อสังขารแก่ เจ็บป่วย เป็น อัมพฤก อัมพาท ไปไหนมาไหนแสนจะลำบากอีกทั้งช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บางครั้งลูกหลานไม่ค่อยมีเวลามาเอาใจใส่ อยู่แต่ในบ้านพัก เหมือนนักโทษ ย่อมเป็นทุกข์ เกิด-ดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๕. พิจารณาความตาย คนตายห้ามไม่ให้ตายย่อมไม่ได้ กลัวความตายจะมาถึงตัว ห้ามการตายไม่ได้ย่อม เป็นทุกข์ ท้ายสุดทุกคนก็ต้องตาย เกิด-ดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

“สังขารา ปรมา ทุกขา = สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง”

 เวทนา คนเรามีความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เจ็บปวด เกิด-ดับ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
 สังขาร ปรุงแต่งเรื่องราวต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ตามจิตสั่งจิต
ความคิด ปรุงแต่ง เมื่อรู้แล้ว รู้ทางเดินของสัตว์ ว่าตัวเรานี้ จะเดินไปสู่สุขคติ ทุกคติ นิพพาน ความคิดของเราปรุงแต่ง เอาความทุกข์มาให้สังขารเราเอง เมื่อรู้แล้ว ความคิดมี ๓ ทาง
๑. ทุกคติ
๒. สุขคติ
๓. นิพพาน เป็นมโนกรรม วิญญาณรับรู้เรื่องราว ตามที่สังขารปรุงแต่ง
สัญญา จดจำเรื่องราวต่าง ๆ ตามที่สังขารปรุงแต่ง ทั้งหมดคือโลกสมมุติ หยุดความคิด ไมได้ เมื่อรู้แล้ว เหลือเชือกเกลียวเดียว สภาวะธาตุ สภาวธรรมได้แล้ว ธาตุทั้ง ๒ ที่สุดจะเรียก ธรรมธาตุ เรียกว่า “วิมุติ” เหลือเชือกเกลียวเดียว เมื่อเข้าสู่สมาธิได้แล้ว เข้าสมาธิแล้วไม่คิดเหมือนหินทับหญ้า สงบนิ่ง เหมือนพระประธาน ๙ วัด เรียกว่า การภาวนาเพื่อให้รู้แจ้ง เห็นจริง เป็น อุเบกขา เมื่อรับรู้แล้วเฉย ๆ ไม่คิด เป็น “โพชฌงค์” ๗ ประการ องค์แห่งการตรัสรู้
๑. สติ ความระลึกได้ หมายถึง ความระลึกชาติได้ มีญาณ
๒. ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นธรรมะ มี ๔๐ วิธี
๓. วิริยะ ความเพียร
๔. ปิติ ความอิ่มใจ
๕. ปัสสัทธิ ความสงบใจ
๖. สมาธิ ความตั้งใจมั่น
๗. อุเบกขา ความวางเฉย
• มัชฌิมา ทางสายกลาง
• ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน
• ธรรม ความจริง มรรคาปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์
• ธัมมจักกะ ล้อรถคือ พระธรรม
โพชฌงค์ ๗ ประการ องค์แห่งการตรัสรู้ พระธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ รู้แจ้ง เห็นจริง เป็นอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็เสวยวิมุติสุขที่เกิดจากการหลุดพ้นกิเลส อยู่ ๗ สัปดาห์ เสด็จไป ๗ ที่ ที่ละ ๗ วัน รวมแล้ว ๔๙ วัน โดยพระองค์ไม่ฉันท์อาหารอิ่มทิพย์ ก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ หลังจากอดอาหารจนร่างกายซูบผอม เหน็ดเหนื่อย โดยพระองค์ได้ฉันอาหารมื้อแรกของ “นางสุชาดา” เป็นข้าว “มทุปายาส” ๔๙ คำ เช่นกัน
เมื่อพระองค์ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ก็ได้มี พ.ศ. ขึ้นมา พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ (พุทธศักราชที่ ๑) ๗ วันเป็นหนึ่งสัปดาห์ ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปี ๑๒ ปีเป็นหนึ่งรอบ ความจริง ณ ปัจจุบันคนเรามักจะพูดกันว่า “มีอายุกี่รอบแล้ว” ผ่านร้อนผ่านหนาวมากี่รอบ แปลความหมายว่า ผ่าน ๑๒ ปีมากี่ครั้งแล้ว (๑๒ ปีเท่ากับ ๑ รอบ)
๑ รอบมาจาก อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คนเรามีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งมีรอบ ๓ เหมือนเชือก ๓ เกลียว มีอาการ ๓๒ ครบวงจร พระองค์ได้รู้แจ้ง เห็นจริง ของกระแสชีวิต
พระองค์ทรงแสดง “ปฐมเทศนา” ชื่อว่า “ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร” ธรรมะก้องโลก ธรรม แปลว่า สัจจะธรรม มรรคาปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ พระองค์ตรัสว่า
“ ธรรมจักรที่เราหมุนไปแล้วนี้ ไม่มีใครจะหมุนทวนกลับได้ ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ เทวดา มาร หรือพรหม ใด ๆ ทั้งสิ้น ใครจะหมุนกลับ ผู้นั้นเป็นผู้ผิด เป็นผู้ทวนกระแสแห่งความเป็นจริง ที่ครอบครองโลกอยู่”
นั่นก็หมายความว่า รอบของความเป็นจริงของมนุษย์ มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ย้อนจากความแก่ชรา กลับไปเป็นเด็กอ่อนอีกไมได้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โลกธรรม ๘ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งนี้คือความจริงของมนุษย์
ความจริงที่ทุกสรรพสัตว์ตลอดจนสิ่งมีชีวิต เป็นสัจจะธรรมทุกย่าง ไม่มีอะไรมั่นคง ล้วนเกิด และดับ เป็นของไม่เที่ยง หมดสิ้นไปตามกาลเวลา แม้แต่ตัวเราเองไม่มีใครจะหลุดรอดจากความตายไปได้ เพราะว่าคนเรานั้นเมื่อมองลึกลงไป “มนุษย์” ก็เป็นเพียงธาตุเท่านั้น ถ้าไม่มีลมหายใจและจิตวิญญาณเมื่อไหร่ ? ทุกอย่างก็สิ้นสลายกลายเป็นดิน เหลือเพียงแต่ชื่อและนามเท่านั้น
มนุษย์เกิดจากรูปกับนาม อันประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีขันธ์ ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
วิญญาณมาประชุมกันเรียกว่า รูป คือความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุขคือ ความสบายกาย สบายใจ หรือทุกข์ คือไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือเฉย ๆ คือไม่ทุกข์ ไม่สุข เรียกเวทนา ความจำได้รู้หมาย คือจำรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจเป็นฝ่ายดี เรียกว่า กุศล เป็นฝ่ายชั่วเรียกว่า อกุศลจิต เป็นกลางไม่ดีไม่ชั่วเรียกว่า อัพยากฤต สังขารรับรู้อารมณ์ในเรื่องเมื่อมากระทบกับตา เรียกว่า วิญญาณ ขันธ์ ๕ ย่น เรียกว่า นาม รูป เวทนา สัญญา สังขาร รวมกันเข้าเป็นนาม รูป และก็มีสภาวะธาตุ สะภาวะธรรม นี้คือรูปร่างของมนุษย์ ถ้ามองให้ลึกให้ละเอียดพิจารณาดู จะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกาย ล้วนเป็นสิ่งสมมุติบัญญัติ เกิดมาแล้วดับไปตามกาลเวลาเท่านั้น
ในร่างกายของเรามีอวัยวะ ๓๒ อย่าง หรือเรียกอาการ ๓๒ มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อายตนะ ๑๒ ขันธ์ ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)สัมผัส ๗ เวทนา ๗ สัญญา ๗ กำลัง ๗ จิต ๗ จะลงท้ายด้วย หรือ โพชฌงค์ ๗
๑ สัปดาห์มี ๗ วัน มงคลชีวิต ๓๘ ประการ มงคลที่ ๗ คือ พหูสูต ฉลาดรอบรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายของมนุษย์ ล้วนเป็นพลังของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อันมีกิเลส มีกรรม มีวิบาก มีจิตวิญญาณอยู่ในร่าง และเมื่อเวลามาเกิด ธรรมเบื้องต้นของมนุษย์คือศีล ๕ หรือขันธ์ ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ตา ๒ ,หู ๒ ,จมูก ๒, ลิ้น ๑, กาย ๑) ถ้าเรานับอันดับของปาก ก็คืออันดับที่ ๔ ตา ๒,หู ๒,จมูก ๒,ลิ้น ๑,กาย ๑ เท่ากับ ๘ ลิ้น-ปาก อันดับที่ ๔ คูณ ๘ จะเท่ากับ ๓๒ ศีลห้าข้อที่ ๔ คืองดเว้นจากการพูดเท็จ กุศลกรรมบถ ๑๐ วจีกรรม ๔ คือการพูดส่อเสียด
สัจจะธรรม แต่ละอย่างอยูในตัวของแต่ละคน วัน เดือน ปีเกิดเป็นข้อกำหนดกรรม ข้อกำหนดอุปนิสัยของแต่ละบุคคล มงคลชีวิต ๓๘ ประการ เป็นข้อกำหนดในการประพฤติธรรมแต่ละบุคคล ในวัน เดือน ปีเกิดทั้งหมด ๑๒ รอบ ๑,๐๐๘ นี้เรียกว่า ทุกข์ ๑๐๘ – ๑,๐๐๘ ศีลห้าแต่ละข้อ และอกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบแผนในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นอมตะนิรันดร ที่สุด

ศีลห้า เป็นวินัยทางธรรมะเบื้องต้น ที่จำแนกคนให้แตกต่างจากสัตว์
ศีลห้า เป็นหัวใจหลักของพุทธศาสนา เป็นเครื่องวัดความเป็นคน เป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต การละเมิดศีลข้อไหน ๆ ต้องชดใช้ข้อนั้น ๆ
๑. ศีลเป็นภพ ภูมิหลัง และกรรมเก่าของมนุษย์
๒. ศีลเป็นข้อกำหนดดี-เลว ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ ๑,๒,๓,๔,๕ ก็ยังคงเดิม
๓. ศีลเป็นพฤติกรรมของแต่ละคน
๔. ศีลเป็นกรรมข้ามภพ ข้ามชาติ
๕. ศีลเป็นเหตุให้ตกนรกอเวจี อบายภูมิ
๖. ศีลเป็นเหตุให้ขึ้นสวรรค์
๗. ศีลเป็นโลกธรรม ๘ ของมนุษย์
๘. ศีลเป็นพื้นฐานจิตใจของมนุษย์
๙. ศีลเป็นวิบากกรรมของมนุษย์ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
๑๐. ศีลเป็นทรัพย์ของมนุษย์
๑๑. ศีลเป็นคู่ครองของมนุษย์
๑๒. ศีลเป็นเสียงพูดของมนุษย์
๑๓. ศีลเป็นสติปัญญาของมนุษย์
๑๔. ศีลเป็นบุญ และบาปของมนุษย์
๑๕. ศีลเป็นโครงร่างกายของมนุษย์ และผิวพรรณ
๑๖. ศีลเป็นข้อกำหนดกรรมเก่าที่จะต้องชดใช้
๑๗. ศีลเป็นกรรมของมนุษย์ ที่ต้องเวียนเกิด เวียนตายเพราะทุศีล(ละเมิดศีล)
๑๘. ศีลเป็นกรรมของมนุษย์ ถ้าละเมิดข้อใด จะต้องชดใช้ข้อนั้น
๑๙. ศีลเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตของมนุษย์ คือใจ กับ ธรรม
๒๐. ศีลเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิต บุคคลที่รักษาศีลดีแล้วย่อมประเสริฐ
๒๑. ศีลเป็นที่ระงับความเร่าร้อนของปวงสัตว์ทั้งหลายในโลก
๒๒. ศีลเป็นบันใดอันสัตว์จะปีนขึ้นไปสู่สวรรค์ อย่างอื่นอันเสมอด้วยศีลนั้นหาได้ไม่
๒๓. ศีลเป็นประตูพระนิพพาน
๒๔. ศีลเป็นอาการ ๓๒ ของมนุษย์
๒๕. ศีลเป็นขันธ์ ๕
๒๖. ศีลเป็นอินทรีย์ ๒๒
๒๗. ศีลเป็นธาตุ ๑๘ ธาตุ ๔ ธาตุ ๖
๒๘. การละเมิดศีลจะเกิดการเผาใจ
ที่สำคัญที่สุด คือศีล ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ อุปกิเลส ๑๖ ทุก ๆ ข้อคือตัวเลขเวลาเกิด วันเกิด เดือนเกิด ปีเกิดของมนุษย์ รหัสชีวิตกรรมข้ามภพข้ามชาติ.





โลกธรรม ๘
คำว่า “โลกธรรม” คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นประจำโลก ที่ใคร ๆ ก็ต้องประสพ ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ เป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงประสพเช่นเดียวกัน มีอยู่ ๘ ประการ แบ่งได้ ๒ ประเภทคือ
ฝ่ายที่คนทั่วไปปรารถนาอยากได้คือ
๑. ได้ลาภ คือการได้รับผลประโยชน์ เช่น ได้ทรัพย์ ได้เพชรนิลจินดา แก้วแหวนเงินทอง ได้รถ ได้บ้านพร้อมที่ดิน ได้ภรรยา-สามี ได้บุตร ฯลฯ
๒. ได้ยศ คือการได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง ได้เลื่อนฐานะ ได้อำนาจในหน้าที่การงาน
๓. ได้สรรเสริญ คือได้รับการชมเชย ยกย่อง ยกยอ สดุดี ที่คนอื่นให้เรา
๔. ได้สุข คือการได้รับความสุขกาย สุขใจ ความเบิกบาน ร่าเริง ความบันเทิงใจ
ฝ่ายที่คนทั่วไปไม่ปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นกับตน
๑. เสื่อมลาภ คือสูญเสียผลประโยชน์ที่ตนเคยได้รับ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ครอบครัวแตกแยก สูญเสียบุตร ภรรยา-สามี ฯลฯ
๒. เสื่อมยศ คือถูกลดความเป็นใหญ่ ลดตำแหน่ง ลดทอนอำนาจ
๓. ถูกนินทา คือตำหนิติเตียน ถูกด่าว่ากล่าวในที่ต่อหน้า หรือลับหลัง
๔. ตกทุกข์ คือการได้รับความทุกข์ทรมาน ทั้งทางกาย และทางจิตใจ
ทั้ง ๔ ประการหลังนี้เป็นเรื่องที่คนเราไม่ชอบ และไม่ปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นกับตัว แต่ในโลกใบนี้ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้ ดังคำกล่าวที่เราได้ยินบ่อย ๆ ว่า
 ได้ลาภ - เสื่อมลาภ
 ได้ยศ - เสื่อมยศ
 ได้สรรเสริญ - ถูกนินทา
 ได้สุข - ตกทุกข์

เรื่องราวทั้ง ๘ ประการ ทุกคนต้องพบทั้งนั้น และในที่สุดก็เสื่อมหายไปตามกาลเวลา เป็นธรรมชาติตามกฎ “ไตรลักษณ์” สามัญลักษณะ คือลักษณะประจำของทุกสรรพสิ่งในโลกมนุษย์